โรคประจำตัวที่ต้องเช็ค ก่อนทำผ่าตัด รวมถึงยาที่กินประจำด้วย

  • การทำผ่าตัดเล็ก คือการผ่าตัดที่มีความเสี่ยงน้อย เช่นการผ่าตัดที่ไม่ได้ดมยาสลบ ไม่ต้องบล็อคหลัง แต่อาจจะมีการใช้ยาชา หรือยานอนหลับที่ไม่ได้มาก ไม่ได้นาน , การทำผ่าตัดอาจจะใช้เวลาประมาณ​1-2 ช.ม. โดยมากมักไม่เกิน 3 ช.ม.
  • เช่นการผ่าตัดตาสองชั้น, ผ่าตัดตกแต่งถุงใต้ตา ,​ ผ่าตัดยกคิ้ว , ผ่าตัดแก้ไขตาปรือ , ตัดปีกจมูก , ผ่าตัดเสริมจมูก , ผ่าตัดตกแต่งปลายจมูก , ผ่าตัดตกแต่งริมฝีปาก , ผ่าตัดแก้ไขหูกาง , ผ่าตัดลดปานนม , ผ่าตัดลดขนาดหัวนม , ผ่าตัดทำขริบเปิดปลาย ,​ หรือผ่าตัดตกแต่งแผลเป็น และอื่นๆที่ไม่ได้ใช้เวลามากนัก ยังมีอีกมากมาย

ก่อนผ่าตัด ประวัติ และการตรวจร่างกาย

  • ก่อนทำผ่าตัด หมอจะทำการซักประวัติ และตรวจร่างกาย , ประวัติที่จะต้องถามทุกเคส คือคนไข้มีโรคประจำตัวอะไรหรือเปล่า ? เพราะโรคประจำตัวบางอย่าง จะมีผลต่อการทำผ่าตัด เช่น
  1. ความดันโลหิตสูง ,​หมอถือว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยๆในคนไทยนะครับ และถือว่ามีความสำคัญยิ่งกับการทำผ่าตัด โดยก่อนผ่าตัด หมอจะทำการวัดความดันคนไข้ทุกคนก่อนผ่าตัด เพื่อดูว่ามีความดันสูงหรือไม่ ความดันปกติ จะได้ค่าออกมาเป็นสองค่า ซึ่งสำคัญทั้งสองค่า และถ้าคนไข้วัดมาด้วย ให้จำมาทั้งสองค่าด้วยครับ , ปกติ 120/80 แต่ถ้าสูงกว่า 140/90 จะถือว่าเริ่มมีความดันสูงครับ , ซึ่งจะขอแบ่งเป็น 3 กรณี
    1. .มีความดันสูงอยู่แล้ว และรักษาดีมาตลอด : กรณีนี้ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง สามารถทำผ่าตัดได้ แต่ก่อนทำผ่าตัด ช่วยแจ้งหมอนิดหนึ่งว่ามีทานยาอะไรบ้าง เพราะมียาบางตัว เช่นยาละลายลิ่มเลือด แอสไพริน เป็นยาตัวเดียวที่ต้องหยุดยาก่อนทำผ่าตัด 7 วัน , แต่ยาตัวนี้ ห้ามหยุดเองน่ะครับ (ถ้าหยุดยาเอง จะอันตรายได้ , ต้องถามหมอเจ้าของไข้ดูว่า สามารถหยุดยาได้หรือไม่ )​
      • กรณีนี้ ก่อนผ่าตัด ไม่ต้องหยุดยาความดันน่ะคับ (​ถ้าหยุดยาความดัน , ความดันจะขึ้นตอนทำผ่าตัดได้)
      • วันก่อนทำ ไม่ควรนอนดึก ,​เพราะการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ จะมีผลทำให้ความดันขึ้นได้
      • ไม่ทานชา กาแฟ เช้าวันที่จะมาผ่าตัด
      • ควรมาถึงคลินิกก่อนเวลา เพราะบางคนมาสาย รถติด , ต้องรีบมา ทำให้ตื่นเต้น ความดันจะขึ้นได้ครับ
    2. มีความดันสูง แต่ไม่ได้รักษา , เคยรักษา แต่รักษาไม่ต่อเนื่อง​ , กินยาบ้างไม่กินบ้าง ไม่มีอาการปวดศรีษะ ก็ไม่กินยา
      • คนไข้กลุ่มนี้ ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะมักจะมีความดันสูงวันที่จะมาผ่าตัด , บางคนสูงมาก มากเกิน 160/110 ซึ่งถือว่าสูงมาก จำเป็นต้องเลื่อนผ่าตัด (เพราะถ้าผ่าตัด อาจจะเกิดอันตรายได้)
      • เพราะฉะนั้น หมออยากจะแนะนำว่า โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีความสำคัญที่ต้องดูแล เอาใจใส่ไม่แพ้โรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจ นะครับ เพราะถ้าเรารักษาไม่ดี มันก็จะนำมาสู่โรคอันตรายอื่นๆ ได้อีก เช่นเส้นเลือดในสมองแตก อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ รวมถึงทำให้ไตวาย ตาบอด โรคหัวใจ หรืออื่นๆอีกมากมาย
      • ควรจะกินยาตามที่หมอแนะนำ , มีการนัดตรวจติดตามตลอด
      • ไม่แนะนำให้กินยาเอง หรือกินอาหารเสริมที่โฆษณาต่างๆว่าช่วยลดความดัน , ควรจะไปวัดที่คลินิก หรือโรงพยาบาลตามที่หมอนัด และถ้าความดันลดลง ก็ค่อยลดยาตามที่หมอแนะนำครับ
    3. ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีความดัน แต่พอมาตรวจแล้วพบว่ามีความดัน
      • กรณีนี้ ก็พอจะพบได้บ้าง แต่บางคนความดันอาจจะแค่เริ่มๆสูง , เราจะให้คนไข้นั่งพัก หรือบางคนถ้ากลัววิตกกังวลการผ่าตัดมาก ก็จะให้ยาคลายเคลียด และถ้าโชคดี ความดันลง ก็สามารถทำผ่าตัดได้
      • แต่บางคน ถ้าความดันไม่ลงจริงๆ ก็แนะนำให้รักษาความดันโลหิตสูงที่โรงพยาบาล หรือคลินิกแถวบ้านที่สะดวก และเริ่มกินยารักษาควาดันก่อน ,​ไม่นาน , ส่วนใหญ่ไม่ถึง 1 สัปดาห์ ถ้าความดันเริ่มลดลง ก็สามารถทำผ่าตัดได้ครับ
  2. โรคภูมิแพ้ : เช่นแพ้อากาศ หรือแพ้ฝุ่น แพ้น้ำ หรืออื่นๆ แต่ไม่ได้เป็นอาการแพ้ยานะครับ ถ้าแพ้ยา ต้องแยกเป็นอีกโรคหนึ่ง
    • ส่วนใหญ่โรคนี้จะไม่มีผลโดยตรงกับการผ่าตัด คนไข้ที่เป็นภูมิแพ้ สามารถทำผ่าตัดเล็ก หรือผ่าตัดใหญ่ได้โดยไม่มีผลอะไร
    • แต่อาจจะส่งผลกับการผ่าตัดบางกรณี เช่นผ่าตัดเสริมจมูก บางคนมีภูมิแพ้ มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลบ่อย และน้ำมูกถ้าไหลมาที่แผลที่เสริมจมูก ซึ่งอยู่ภายในจมูก อาจจะเสี่ยงกับการติดเชื้อได้
  3. โรคหัวใจ
  4. โรคเบาหวาน : คนไข้ที่ถูกวินิจฉัยแล้ว ว่าเป็นเบาหวาน และรักษาสม่ำเสมอ พร้อมควบคุมอาหารการกิน ไม่ให้มีภาวะน้ำตาลสูงเกินไป
    • โดยปกติ ถ้าเจาะน้ำตาลไม่เกิน 140-160 ม.ก.% ก็สามารถทำผ่าตัดเล็กได้ เช่นการผ่าตัดที่ไม่ต้องดมยาสลบ
    • แต่ถ้าต้องดมยาสลบ ซึ่งกรณีนี้ คนไข้ต้องงดน้ำงดอาหาร ซึ่งคนที่เป็นเบาหวาน จะต้องดูแลโดยแพทย์เป็นพิเศษ เพราะคนไข้กลุ่มนี้ มีโอกาสเกิดได้ทั้งน้ำตาลสูงเกินไป หรือต่ำเกินไปก็ได้
  5. โรคหอบหืด

Published by Dr.Attaporn

Doctor , Plastic & Cosmetic Surgeon

สอบถาม

%d bloggers like this: