- การทำตาสองชั้นในคนเอเซีย จะต่างกับหนังตาตกในฝรั่งตรงที่ คนเอเซีย คนไทย ส่วนใหญ่ชั้นตาจะไม่สูง และโดยมาก ต้องการการทำชั้นตาด้วย , แต่ถ้าในฝรั่งที่มีอายุ เขาจะต้องการแค่ ตัดหนังตาที่ตก และบางส่วน ก็อาจจะต้องการเอาไขมันออกด้วย
- การที่ต้องทำชั้นตา หรือ ยึดชั้นตานั้น ไม่ว่าอายุน้อย หรือ อายุมากขึ้น ก็จะต้องทำอันนี้เหมือนกัน แต่ถ้าอายุมากขึ้น ที่มีหนังตาตกเยอะขึ้น ก็อาจจะต้องตัดหนังตา รวมถึงไขมันออกด้วย
- การทำชั้นตา ก็มีทั้งแบบเจาะ หรือที่เรียกว่า เย็บ 3 จุด( อาจจะเย็บได้ 3-5 จุด ขึ้นกับลักษณะของหนังตา) และแบบผ่าตัดกรีดสั้น หรือ กรีดยาว
- การที่เข้าไปยึด 3 จุด จะยึดเปลือกตาด้านนอก กับกล้ามเนื้อลืมตาด้านใน พอเวลาลืมตา ก็จะเกิดชั้นตา คล้ายๆตอนดึงมู่ลี่ขึ้นมา

ฟังความต้องการของคนไข้ ก่อนทำผ่าตัด
- การทำผ่าตัดความงามนั้น สิ่งที่สำคัญ คือต้องรู้ว่าปัญหาของคนไข้คืออะไร คนไข้อยากได้ชั้นตาสูงๆ สายฝ. หรือ แบบธรรมชาติ สาย ก. เกาหลี
- ในคนไข้บางคนที่เคยทำตามาก่อน แล้วมาแก้ตา ก็ยิ่งต้องสอบถามความต้องการว่าต้องการแบบใด เพราะบางกรณีหมออาจจะบอกจุดบกพร่องส่วนหนึ่ง แต่คนไข้กลับมองอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งตรงจุดนี้ ต้องผสานกับเพื่อจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าพอใจทั้งสองฝ่าย
ชั้นตาไม่เท่ากัน เกิดจากอะไร ?
- ปัญหาเรื่องชั้นตาไม่เท่ากัน ทั้งเคยทำตามาก่อน หรือยังไม่เคยทำมาก็ตาม หรือ บางคนอาจจะมีสาเหตุอื่นๆได้อีก
- เช่นบางคนฉีดหน้าผากมา แล้วต่อมาสารนั้นไหลลงมาที่หนังตา ก็ทำให้หนังตาข้างที่ไหลเยอะกว่า ชั้นตาเล็กกว่าข้างที่ไหลน้อยกว่า ก็เป็นไปได้
- ดูระดับคิ้ว ว่าต่างกันไหม เพราะคนที่มีคิ้วตกกว่า มีหนังตาลงมากองมากกว่า ก็ทำให้หนังตาข้างนั้นเล็กกว่าได้เช่นเดียวกัน
- ระดับดวงตา , อันนี้ หมายถึงระดับลูกตาไม่เท่ากันเลยนะครับ ซึ่งพบได้พอสมควร เพราะบางมีรูปหน้าไม่เท่ากัน , รูปหน้าข้างหนึ่งเล็กกว่า ก็จะทำให้ระดับตาฝั่งนั้นเล็กกว่า ต่ำกว่า , ดูผ่านๆ จะมองเหมือนมีชั้นตาไม่เท่ากันเพียงอย่างเดียว แต่จริงๆ ไม่เท่ากันทั้งระดับลูกตากันเลยทีเดียว
- ถ้าคนไข้เลยมีประวัติทำตามาก่อน แล้วชั้นตาไม่เท่ากัน สิ่งที่อยากได้ นอกจากประวัติการทำผ่าตัดแล้ว รูปก่อนผ่าตัดครั้งแรก ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจจะเจอบางอย่างซ่อนอยู่ที่หมอคนแรกพลาดไป เราจะได้ช่วยดูให้อีกทางหนึ่งด้วย
ทำตาแล้วไม่ชอบ ไม่สวย เกิดจากอะไรได้บ้าง
- ชั้นตาที่เคยทำไป เกิดหลุดหรือหย่อน, ถ้าเกิดกับตาข้างเดียว ก็จะเป็นสาเหตุทำให้ชั้นตาไม่เท่ากันได้ครับ
- ชั้นตาไม่เท่ากัน , อาจจะเกิดจากรอยกรีดครั้งแรก ไม่เท่ากัน หรือหนังตาตกลงมาไม่เท่ากัน , เก็บหนังตาไม่เท่ากัน ก็เป็นไปได้หลายสาเหตุ
- ชั้นตาต่ำเกินไป
- ชั้นตาสูงเกินไป
- มีอาการตาปรือ ซึ่งมาเห็นได้ชัดหลังทำตาสองชั้น , ซึ่งคนอาจจะมีปัญหาตาปรือๆ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเล็กๆน้อยๆมาก่อน พอทำตาสองชั้น สังเกตุมากขึ้น , ถ่ายรูปลงโซเชียล แล้วมีคนดูมากขึ้นก็ทำให้เห็นขึ้นมาได้ , หรือบางคน เกิดจากขั้นตอนการผ่าตัดจริงๆ ซึ่งอันนี้คงต้องมาดูว่าผ่าตัดอย่างไร วิธีด้วยไหนด้วย
- รูปทรงตา หรือ รูปร่างไม่สวย
ชั้นตาหลุด หรือ หย่อน
- สาเหตุเช่น ตอนทำผ่าตัดเย็บยึดชั้นตา ใช้ไหมละลายเร็วเกินไปหน่อย ทำให้เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน แรงดึงยึดจากไหมก็ค่อยๆหายไป ทำให้ชั้นตาหลุดหรือหย่อนลงมาได้ , ซึ่งโดยปกติ หมอจะแนะนำให้ใช้ไหมที่ละลายช้าหน่อย เนื่องจากมันเป็นไหมที่อยู่ด้านในอยู่แล้ว ละลายช้า เอาชัวร์ๆว่าไหมไม่ละลายก่อน น่าจะเป็นหลักประกันความแข็งแรงของชั้นตาได้ดีกว่า



- สาเหตุอื่นๆ เช่นการเย็บชั้นตาระหว่างเปลือกตา กับกล้ามเนื้อยกเปลือกตา ผิดตำแหน่ง เช่นไปเย็บชั้นใต้ผิวหนังที่เป็นชั้นไขมัน แทนที่จะเป็นชั้นผิวหนัง ที่อยู่ตื้นขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง หรือไปเย็บกับเนื้อเยื้อบางๆ แทนที่จะเป็นกล้ามเนื้อยกเปลือกตา ก็อาจจจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ชั้นตาหลุดเร็วได้เช่นเดียวกัน

- หมอบางคนอาจจะมีไอเดียในการเย็บชั้นตากับเนื้อเยื้อของกล้ามเนื้อยกเปลือกตา เพราะเห็นว่าอาจจะดูธรรมชาติกว่า แต่ข้อเสียของวิธีนี้ คือชั้นตาจะไม่แข็งแรง และหลุดง่ายกว่า
ชั้นตาไม่เท่ากัน
- เรามาดู 4 สาเหตุหลักๆ
- ตอนวัด และทำวาดตั้งแต่ก่อนทำ ไม่ละเอียด หมอบางคนอาจจะไม่ได้วาดสีก่อนทำด้วยซ้ำไป ถือว่าประมาทมากๆ แต่กรณีศัลยแพทย์ตกแต่งโดยทั่วๆไป ตั้งแต่ตอนเทรน ก็ได้รับการฝึกให้วาดสีก่อนจะฉีดยาชา และลงมีดทุกครั้ง
- เย็บชั้นตาไม่ดี , เพราะหนังตาจะมีความยืดหยุ่นได้ทั้งสองข้าง, ถ้าระหว่างเย็บ จัดประเมินความยืดหยุ่นหนังตาไม่เท่ากัน ก็เป็นสาเหตุทำให้ชั้นตาไม่เท่ากันได้
- ประเมินคิ้วทั้งสองข้างด้วยว่าเท่ากันไหม , ถ้าไม่เท่ากัน , ข้างที่ตกมากกว่า จะมีหนังตาตกลงมามากกว่า ทำให้ชั้นตาข้างนั้นเล็กกว่าได้
- ไม่ทันดูว่าคนไข้มีอาการตาปรือด้วย , เนื่องจากคนไข้ที่ตาปรือเล็กน้อย อาจจะดูยาก , กอปรกับเป็นคนตาชั้นเดียว มีหนังตาตกด้วย ก็ยิ่งทำให้พลาดการตรวจว่ามีตาปรือด้วยหรือไม่ ซึ่งอาการตาปรือนี้ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชั้นตาไม่เท่ากันหลังจากทำตาสองชั้นและชั้นตายุบเข้าที่เรียบร้อยแล้ว

การทำผ่าตัดแก้ไข ชั้นตาไม่เท่ากัน
- ต้องดูที่สาเหตุของแต่ละคน
- เช่นบางคนสามารถปรับชั้นตาข้างเดียว โดยที่ปรับให้กว้างขึ้น หรือ ปรับชั้นตาให้แคบลง หรือปรับตรงจุดยึดชั้นตาก็ได้

- บางกรณีอาจจะต้องปรับสองข้าง เพื่อให้ได้ตาที่สวยกว่า (และปกติ การแก้ตาที่ไม่เท่ากัน มักจะแนะนำให้ปรับทั้งสองข้าง เพราะการปรับข้างเดียว มีโอกาสที่จะไม่เท่ากันสูงกว่าการที่จะปรับและทำใหม่พร้อมๆกัน)

แก้ชั้นตาเล็กเกินไป
- ชั้นตาเล็กเกินไป ก็เป็นปัญหาเหมือนกันนะครับ เพราะบางคนก็กลัวว่า ชั้นตาจะตกเร็วเกินไป
- “ทำตามาไม่ถึงปี ชั้นตาก็ตกหมดละ” บางคนที่ทำชั้นตาเล็กไป ก็อาจจะบ่นแบบนี้ได้
- แต่ชั้นตาเท่าไรละ จึงเป็นขนาดที่พอดี
- ปกติเราจะเอาตัวเลขการทำตา โดยวัดจากขนตาขึ้นไป โดยวัดจากกตรงกลางตา ประมาณ 6-8 ม.ม.
- แต่เราก็ต้องกดชั้นตา สาธิตให้คนไข้ดูด้วยนะครับ เพราะชั้นตาบนหน้าคนอื่น กับบนตาเรา อาจจะดูไม่เหมือนกันได้
- สรุปว่า ชั้นตาเท่าไรจึงพอดี ขึ้นกับ
- ความชอบของคนไข้ ว่าชอบสูงหรือธรรมชาติ
- โครงสร้างรอบดวงตา ว่ากว้าง ยาวแค่ไหน
- ไขมัน และเนื้อเยอะ หนังตาว่าตกมากน้อยแค่ไหน
- มีหัวตาปิดหรือเปล่า
- แต่เอาง่ายๆว่า ถ้าทำชั้นตาสูงไม่เกิน 5 ม.ม. ก็จะถือว่า ทำชั้นตาเล็ก และอาจจะธรรมชาติไปหน่อย (แต่ถ้าส่วนตัวชอบแบบเล็กๆ ก็ควรทำประมาณ 5 ม.ม.ได้ครับ)

- คนที่ชั้นตาเล็กๆ หรือบังการลานสายตา มักจะเลิกคิ้วช่วย เพื่อให้มองได้ชัดขึ้น , ทำให้คิ้วสองข้างสูงอยู่ตลอด
- แต่เมื่อมาทำตาสองชั้น ตัดหนังตาที่ตก และยกชั้นตาให้สูงขึ้น
- คนไข้ก็ไม่ต้องเลิกคิ้วช่วยแล้ว
- อาจจะเห็นคิ้วตกลง และช่องตากับคิ้วดูแคบขึ้น

แก้ชั้นตาสูงเกินไป
- ชั้นตาที่ถือว่าสูง เช่น สูงเกิน 8 ม.ม. ถือว่าสูงเกินไป สำหรับตาคนเอเซีย (แต่ยกเว้นบางคนที่ทำแล้วออกจะเป็นสาย ฝ หรือ ไปทางฝรั่ง ก็ดูเก๋ไปอีกแบบ)
- แต่ก็คงต้องดูความกว้างของช่องตา และคิ้วเป็นหลักด้วย , เพราะบางคน ช่องตา-คิ้ว กว้างมากๆ การทำ 8 ม.ม. ก็อาจจะไม่ได้ดูสูงมากนัก
- สรุปว่า ตัวเลข เราใช้เป็นไกด์ว่าควรจะประมาณกี่ม.ม. แต่ต้องดูประเมินจากคนไข้จริงๆอีกทีด้วยครับ
- แต่บางคนก็ทำชั้นตาสูงเกินไป ซึ่งการทำสูงมาก ก็ต้องระวัง เพราะอาจจะทำให้ดูเหมือนตาปรือหน่อยๆ เพราะตอนลืมตาจะลืมได้ไม่เต็มที่

- การแก้ชั้นตาที่สูงไป ได้ดีสุด คือ ปรับกรีดชั้นตาต่ำลง พร้อมทั้งเข้าไปคลายชั้นตาเดิม
- ถ้ารอยแผลเดิม อยู่ไม่ได้สูงมาก ก็สามารถตัดออกไปพร้อมกัน
- แต่ถ้าเราปรับชั้นตาให้ต่ำลงมาก ก็อาจจไม่สามารถตัดรอยเดิมได้
- บางคนถ้ามีแผล หรือรอยบุ๋มเยอะ อาจจะเกิดปัญหาโดยใช้การปลูกถ่ายไขมันใต้แผลได้
รู้ว่าตัวเองมีตาปรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง หลังจากทำตาสองชั้น
- บางคน มีอาการตาปรือ แต่ไม่เคยรู้มาก่อน ว่าตาตัวเองปรือ ซึ่งอาจจะพบได้ถ้าปรือไม่เยอะ
- แต่เมื่อทำตาสองชั้น ตัดหนังตาที่ตก และเห็นฐานขนตาเปรียบเทียบกันสองข้าง จึงมาพบว่า มีอาการตาปรืออยู่ด้วย
- โดยปกติ เมื่อหมอผ่าตัด ได้สังเกตุว่าคนไข้มีตาปรือ อาจจะต้องแจ้งบอกคนไข้ด้วยว่า มีอาการตาปรืออยู่นิดๆ ซึ่งบางคนอาจจะไม่ได้กังวลอะไร ,หรือบางคน ก็อาจจะต้องการแก้ไขอาการตาปรือก็เป็นได้
- แต่ ณ ปัจจุบันนี้ มีการส่งรูปหน้าตรง ทางไลน์ หรือทางFacebook กันก่อน ก็สามารถตรวจและแจ้งคนไข้ได้คราวๆก่อนวันทำได้ครับ

- ตาปรือ อาจจะเกิดค่อยๆเป็นค่อยๆไป หรืออายุมากขึ้น ตาปรือมากขึ้น
- บางคน มีอาการปรือสายๆ หรือ เย็นๆ เรียกว่าโรค MG
Reference
- Aesthetic Plastic Surgery in Asians P447