ทำตาสองชั้น ในคนที่หนังตาตก พร้อมทั้งสังเกตุการเปลี่ยนแปลงรอบๆดวงตาเราเมื่ออายุมากขึ้น

เมื่อเราอายุมากขึ้น จะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ บริเวณรอบดวงตาเรา ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นส่วนกระดูก ผิวหนัง ไขมัน หรือแม้แต่กล้ามเนื้อ

มาดูที่กระดูกรอบดวงตากันก่อน พบว่าในผู้สูงอายุ กระดูกจะบางลง ในตำแหน่งด้านล่าง-นอก (ซึ่งอายุสัก 40ปี ก็จะเริ่มๆบางละ ส่วนตำแหน่งด้านบน-ใน(จะบางในอายุเยอะๆหน่อย) ซึ่งตรงนี้จะมีผลทำให้ดูตาล่างห้อยได้เร็วกว่า , และตำแหน่งไขมันด้านในหัวตาก็จะเพิ่มมากขึ้น ในคนสูงอายุมากขึ้นด้วย

บริเวณกลางหน้า และแก้ม

บริเวณกลางหน้า จะเริ่มเห็นร่องน้ำตามามากขึ้น มีการห้อยของแก้มมากขึ้น โดยด้านในจะส่งผลให้ร่องแก้มลึกมากขึ้น

อายุมากขึ้น ร่องน้ำตา ร่องแก้ม ถุงไขมันใต้ตามากขึ้น

คล้อยของไขมันโหนกแก้ม ทำให้ร่องแก้มชัดขึ้น , กระดูกรอบดวงตาบางลง กล้ามเนื้อหย่อนลง ทำให้ถุงไขมันใต้ตาดันออกมาได้มากขึ้น
ส่วนใบหน้าด้านล่าง ก็จะแก้มห้อยย้อยมากขึ้น

ไขมันห้อย ทำให้ร่องแก้มลึกมากขึ้น
ไขมันโหนกแก้มสไลด์ลงมาด้านล่าง เห็นขอบด้านข้างเป็น 3 ขยัก

ใต้ตาของคนที่อายุมากขึ้น จะมีความสูงของผิวหนังส่วนนี้มากขึ้น ตอนยิ้มป่องขึ้น เห็นได้ชัด

อายุมากขึ้น หนังใต้ตาก็กว้างมากขึ้น

ขั้นตอนการทำผ่าตัดตาสองชั้น ตัดหนังตา ตัดไขมัน

ก่อนทำผ่าตัด จะประเมินก่อนว่าหนังตา ตั้งแต่ ขนตาถึง คิ้ว มีความกว้างเท่าไร และจะทำชั้นตาสูงประมาณไหน
โดยปกติ ในผู้หญิง ชั้นตาวัดจากขอบขนตาขึ้นไป จะอยู่สูงประมาณ 8-9 ม.ม.
ส่วนในผู้ชาย จะต่ำกว่านิดหน่อย อยู่ที่ 7-8 ม.ม.
และพยายามเก็บช่องหนังตา คิ้ว ให้อยู่ที่ 19-20 ม.ม.

การวัดหนังตาที่จะตัดออก

การวัดหนังตาที่จะตัดออก และสร้างชั้นตา ปกติจะลงแผลตั้งแต่ด้านใน ที่หัวตาและด้านนอก ที่หางตา , โดยปกติ หางตาจะยกสูงกว่าหัวตาประมาณ 5 ม.ม.

วัด และวาดตำแหน่งหนังตาที่จะตัดและเย็บชั้นตา
กำหนดจุด 3 จุด ในการทำชั้นตา

วัดชั้นตา และหนังตาที่จะกรีดเก็บออก โดยให้เหลือเนื้อที่ห่างจากใต้คิ้ว ประมาณ 10 ม.ม. และใช้ชั้นตาเดิม , กรณีที่ชั้นตาเดิมทั้งสองฝั่งไม่เท่ากัน เราจะวัดชั้นตาให้เท่ากัน โดยข้างหนึ่งอาจจะไม่ใช่รอยชั้นตาเดิม , พร้อมทั้งประเมินหนังตาข้างที่ตกเยอะกว่า ก็จะต้องตัดออกมากกว่าด้วย

วาดตำแหน่งที่จะทำตาสองชั้น และตัดหนังตาออก ชั้นตา ใช้ชั้นตาเดิม
การฉีดยาชา

หลังจากวัดและวาดตำแหน่งที่จะทำเรียบร้อยแล้ว เราก็มาถึงการฉีดยาชา ซึ่งการเดินยา แบบช้าๆ จะทำให้คนไข้เจ็บน้อยระหว่างเดินยาชา และหลังฉีดยาชาเสร็จ รวมถึงระหว่างทำผ่าตัด จะไม่มีอาการเจ็บเลย
คนที่มีการประวัติ หรือการกินยากลุ่มยาละลายลิ่มเลือด เช่น แอสไพริน ควรจะงดยาก่อนทำ 7 วัน และควรจะแจ้งหมอเจ้าของไข้ที่ให้ยานี้ด้วย ว่าสามารถงดยาได้หรือไม่

ค่อยๆเดินยาชาทีละนิด ทีละนิด ทำให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลายสบายๆ
เลาะไขมัน และตัดไขมันออก

ไขมันที่หนังตา มีสองส่วน คือส่วนกลางหนังตา และส่วนในหัวตา , ก่อนทำเราจะประเมินว่าคนไข้มีไขมันส่วนไหนเยอะ หรือน้อยแค่ไหน ถ้าไขมันเยอะ ก็จะเอาออกด้วย แต่การเอาออก ก็ไม่ควรเอาออกหมด เพราะจะทำให้ดูตาลึกเกินไป ต้องเอาออกแต่พอดีๆ

ตัดไขมันส่วนกลางหนังตาออก
ตัดไขมันส่วนหัวตาออก

หลังผ่าตัดตาสองชั้น เกี่ยวกับไขมัน

เราต้องการให้ยังคงความอิ่มของหนังตา

แต่ไม่ได้ดูหนังตกหรือไขมันเหลือเยอะจนดูดวงตาเหนื่อยล้า

การตัดหนังตาเยอะเกินไป ก็จะดูเบ้าตาลึก หรือถ้ายังคงเหลือเยอะ ก็อาจจะยังดูหนังตาตกอยู่ อันนี้จึงมีเทคนิคการกดเปลือกตาล่าง เพื่อประเมินไขมันที่เหลืออยู่ระหว่างทำผ่าตัดด้วย

หนังตาและไขมัน ส่วนที่ตัดออกมา

การเย็บชั้นตา และเย็บแผล

ปกติการเย็บชัั้นตา ในตำแหน่งที่กรีด กับกล้ามเนื้อที่ใช้ลืมตาข้างใต้มัน เพื่อให้เกิดเป็นชั้นตารอยพับขึ้นมา จะเย็บในตำแหน่งตาดำ ตรงกลาง , และพอดีกับขอบตาดำทั้งสองข้าง , การเย็บทำให้เกิดชั้นตา และรีวิวหลังทำตาสองชั้น หมออรรถพร

เย็บปิดแผลด้วยไหมละเอียดเส้นเล็ก 6/0

Reference

  1. State of the Art in Blepharoplasty P16
  2. State of the Art in Blepharoplasty.

Published by Dr.Attaporn

Doctor , Plastic & Cosmetic Surgeon

สอบถาม

%d bloggers like this: