ตาปรือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • ประวัติ เป็นส่วนที่สำคัญที่เราจะต้องสอบถามจากคนไข้ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำได้
  1. ประวัติทางครอบครัว , มีคนในบ้าน พ่อแม่พี่น้อง ปู่ยา ตายาย มีใครตาปรือๆ บ้างหรือไม่ , หรือถ้าไม่แน่ใจ ก็อาจจะให้คนไข้ลองดูรูปรวมญาติ แล้วกวาดสายตาดูว่า มีใครที่ดูแล้ว มีความผิดปกติบ้างหรือไม่
  2. บางคนอาจจะมีโรคบางอย่างซ่อนอยู่ ซึ่งพบได้น้อยม๊ากๆ โดยเฉพาะในเมืองไทย เช่นมีอาการเป็นตั้งแต่อายุน้อยๆ ,กรอกตาไม่ได้ อาการเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึง การมองเห็นอาจจะแย่ลง ซึ่งโรคนี้ อาจจะมีสัมพันธกับอาการทางการเต้นของหัวใจได้
  3. มาถึงโรคที่อาจจะพบมากกว่า คือมีอาการตาปรือเป็นครั้งคราว (ถ้าเป็นจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง จะเป็นตลอดเวลา ) บางครั้งมีอาการตาเหล่ๆด้วย (เป็นเพราะกล้ามเนื้อทำงานรอบๆดวงตาเกิดอาการอ่อนแรง) เรียกว่าโรค MG หรือ Myasthenia gravis ซึ่งเป็นโรคที่เราต้องคำนึงถึงทุกครั้งก่อนทำผ่าตัดแก้ตากล้ามเนื้ออ่อนแรง
  4. ประวัติอุบัติเหตุโดยเฉพาะแถวๆกระดูกใบหน้า เบ้าตา , ถ้ามีกระดูกเบ้าตาแตก ทำให้ลูกตาหดเข้าไปด้านหลัง ทำให้หนังตาตกได้ , หรือการโดนกระแทกแรงๆ ก็อาจจะโดนเส้นประสาทที่ควบคุมการลืมตาได้เช่นเดียวกัน , ผู้ป่วยมีแผลฉีกขาด หรือเย็บแผลบ้างหรือไม่ อาจจะโดนกล้ามเนื้อที่ใช้ในการลืมตาได้เช่นเดียวกัน
  5. อีกประวัติที่พบได้บ่อยเหมือนกัน คือภูมิแพ้ขึ้นตา อาการคันตาบ่อยๆ ขยี้ตา ทำให้เปลือกตามีลักษณะบวม และหย่อนตกลงมาได้มากกว่าปกติ
  6. การตรวจร่างกายดูรูม่านตาว่ามีขนาดเล็กผิดปกติหรือไม่ และเป็นข้างเดียวกับที่มีอาการตาปรือ หรือมีประวัติเนื้องอก แถวๆต้นคอ ในสมอง ก็อาจจะเกิดกับระบบประสาทผิดปกติก็เป็นไปได้
  7. ประวัติตาแห้ง ต้องใช้น้ำตาเทียมประจำ หรือมีน้ำตาเยอะ หรือตาแดงบ่อยๆเป็นแบบเรื้อรัง ก็ต้องคำนึงถึงกระจกตาด้วย บางคนตาแห้งรุนแรง ถึงขั้นมีแผลที่กระจกตาได้

มาดูเคสแรก มาด้วยบอกว่ารู้สึกว่ามีตาปรือๆมา 2 ปี เป็นตลอดเวลา , ในช่วง 2 ปีนี้ ไม่ได้เป็นมากขึ้น , ก่อนหน้านี้ปกติ ตรวจร่างกายก็พบว่าตาขวาดูจะลืมตาได้น้อยกว่า และตาเปิดได้แคบกว่าตาซ้าย ซึ่งตาซ้ายดูโตกว่าชัดเจน

ตาปรือด้านขวา ให้ประวัติว่าเป็นมา 2 ปี

ญาติก็ต่างยืนยันว่าพึ่งเป็น, เราก็ขอให้ญาตินำรูปตอนเด็กๆเท่าที่มีมาให้ดูเพิ่มหน่อย , ซึ่งสำหรับหมอเอง ถ้าเจอคนไข้ลักษณะแบบนี้ ก็จะให้พยายามไปหารูปมาเพิ่มหน่อย

” ขอรูปที่มองหน้าตรง โฟกัสให้เห็นบริเวณดวงตาชัดๆ โดยเฉพาะถ้าเห็นเปรียบเทียบตาดำสองข้างได้ยิ่งดี “

รูปก่อนนี้ อาจจะไม่ได้สังเกตุว่า มีอาการตาปรือมานานแล้ว
รูปตอนเด็ก เห็นตาขวา เล็กกว่าเล็กน้อย มาตั้งแต่เด็ก แต่พยายามตกแต่งอายไลยเนอร์ชดเชย ทาสีดำหนามากขึ้น

รูปตอนเด็กๆ ก็พอจะบอกได้ว่า คนไข้คนนี้ มีอาการตาปรือมาตั้งแต่เด็ก แต่ไม่มีใครรู้ หรือสังเกตุได้เลย ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนฝูง หรือแม้แต่ตัวคนไข้เอง

การตรวจร่างกายของผู้ป่วยตาปรือ

  • คนไข้ไม่ได้มีปัญหาแค่ตาปรือเพียงอย่างเดียว , เมื่อยกเปลือกตาขึ้นดู จะพบว่าตาขวา กรอกตาลงล่าง ไม่ตามไปกับตาซ้าย , แสดงว่า มีเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อกรอกตาเสียด้วย

Reference

  1. Ptosis surgery ch4 P64

Published by Dr.Attaporn

Doctor , Plastic & Cosmetic Surgeon

สอบถาม

%d bloggers like this: